1.เร็ว
มีคนบอกผมว่าการใช้ internet ทำให้นิสัยคนเราเปลี่ยนไปคืออดทนน้อยลง เป็นเพราะ internet จริงหรือเปล่าผมไม่รู้ แต่ website ไหนที่ load นานๆ ผมไม่เคยได้เห็นเสียที เพราะผมจะ cancel แล้วไป site อื่น
ระยะเวลาในการแสดงผลไม่ควรเกิน 5วินาที เว็บควรจะแสดงรายละเอียดออกมา พอที่ผู้ชมจะตัดสินใจได้ว่า จะไปที่ไหนต่อครับ
ข่าวดี technology มีแนวโน้มที่จะรองรับข้อมูลปริมาณมากๆ ได้ดีขึ้น เร็วขึ้น และราคาถูกลง คาดว่าเราจะได้เห็นการถ่ายทอดสดผ่านทาง internet ที่มีคุณภาพระดับ HDTV ในช่วงอายุของเรา
2.นำเสนอข้อมูลได้ครบถ้วน
การตัดสินใจสั่งซื้อของสักชิ้นบน internet เป็นเรื่องที่ยาก (นอกจากสินค้าที่เป็นที่รู้จักอยู่แล้ว และมีความคงตัวสูง เช่น หนังสือ หรือ นาฬิกาแบรนด์แนม) เช่นสินค้าอย่าง เสื้อผ้า เฟอร์นิเจอร์ ที่พักอาศัย หรือสินค้าผลิตเองที่ยังไม่มีชื่อเสียง เป็นต้น ดังนั้นรูปภาพและข้อมูล ถ้ามันจะทำให้ผู้ชม สามารถมั่นใจสินค้าของคุณได้ ใส่เข้าไปเถิดครับ
ผมมีความเห็นว่า website ที่สามารถใส่รูปสินค้าได้เพียงรูปเดียว จึงไม่เหมาะสมด้วยประการฉะนี้
3.มีระบบการจัดการข้อมูลที่ดี
website สามารถปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าได้ ตลอด 24 ชั่วโมงต่อวัน 7 วันต่อสัปดาห์ นั่นคือข้อได้เปรียบที่หลายคนมองข้ามไป
- 1. คุณมีฐานลูกค้าที่กว้างขึ้น เพราะคนทุกมุมโลกสามารถเข้าถึงร้านค้าของคุณได้
- 2. คุณสามารถเล่นกลยุทธ์ทางการตลาดได้ตลอดเวลา สามารถตอบโต้คู่แข่งได้ทันที โดยไม่มีระยะเวลาการประกาศ ระยะเวลาการจัดพิมพ์
แต่นั่นหมายความว่า คุณต้องมีระบบการจัดการข้อมูลของคุณที่ดีพอ ไม่ต้องไปรอ webmaster เข้ามาแก้ไขข้อมูลให้ในอีก 1 สัปดาห์ข้างหน้า
4.เริ่มต้นเล็กๆ ยืดหยุ่น และรองรับภาพรวมที่ใหญ่
อย่างที่บอกว่า website ต้องการระยะเวลาเติบโต และการเป็นที่รู้จัก
การเริ่มต้นด้วยความสมบูรณ์แบบ ซึ่งมีผลทำให้ ต้นทุนการดำเนินการสูง จึงเป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง
ซ้ำ ประสบการณ์ ในการทำงานโปรแกรมเมอร์ บอกผมว่า ไม่ว่าคุณจะออกแบบระบบ และวิธีการทำงานดี เพียงใดก็ตาม การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นได้เสมอ
อันนี้ผมฝากถึงโปรแกรมเมอร์ทุกคนครับ มองการแก้ใขไว้เสีย ตั้งแต่ขั้นตอนการเริ่มออกแบบเลยครับ
และมองส่วนเชื่อมต่อระบบทั้งหมดไว้ด้วย อาจจะไม่ได้ 100% แต่ผมเชื่อว่า จะช่วยลดปัญหาเวลาขยายระบบ หรือเชื่อมต่อระบบ ไปได้บ้างไม่มากก็น้อย
พูดง่ายๆคือ เตรียมทางหนีทีไล่ไว้ด้วยครับ (ผมไม่ได้หมายถึงหนีงานนะ ย้ำว่าห้ามเด็ดขาด)
ภาพรวมทั้งหมด (ระบบสุดท้ายที่จะเป็น) ทั้งเจ้าของ โปรแกรมเมอร์ system analyst (ถ้ามี) รวมถึงผู้ปฏิบัติการณ์ ต้องช่วยกันครับ
แต่ต้องเข้าใจตรงกันว่า ระดับการยอมรับงานใน contract นั้นๆ กับเป้าหมายใหญ่ทั้งหมดนั้น คนละเรื่องกันนะครับ
ย้ำครับ เริ่มต้นเล็กๆ และยืดหยุ่น ก่อนครับ
5.แก้ไขเปลี่ยนแปลงง่าย
การเปลี่ยนแปลงเป็นอนิจังครับ
ในเรื่องขั้นตอนการทำงาน อาจจะมีการปรับเปลี่ยนในช่วงต้น แต่เมื่อลงตัวแล้วไม่ควรเปลี่ยน เพราะจะทำให้ผู้ใช้สับสน
แต่รูปลักษณ์และหน้าตาของ website โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ต่อลูกค้า ควรจะมีการเปลี่ยนแปลงครับ
ในเบื้องต้นคือ ในระดับข้อมูล ควรมีการเปลี่ยนแปลงประมาณสัปดาห์ละครั้ง มีลดแลกจากแถม มีสินค้าใหม่ มีบทความใหม่
ในระดับถัดไปคือ รูปลักษณ์ ของทั้งsite ควรจะเปลี่ยน 1-2 ปีต่อครั้ง
อันนี้ไม่ใช่กฏตายตัว แต่ผู้ออกแบบระบบ ควรจะมองเผื่อส่วนนี้ไว้ด้วย ไม่ใชว่า่ 1-2 ปีต่อมาี ต้องมา re-code กันใหม่ทั้งหมด เจ้าของ site ก็ต้องมาจ่ายใหม่ทั้งหมด อันนี้ก็ไม่ไหวครับ
6.เข้าใจระบบ และ คำนึงถึงความเป็นมนุษย์
มีการประชุมกับ programmer ครั้งหนึ่งที่ผมมีโอกาศเข้าร่วม programmer พยายามชี้แจงให้เห็นถึงการทำงานอย่างเป็นระบบ โดยการสร้างเงื่อนไขในการทำงาน
“ถ้าคุณทำตรงนี้ แต่ข้อมูลเป็นของอีกส่วนหนึ่ง ให้คุณไปทำในอีก folder หนึ่ง”
“ถ้าคุณทำตรงนี้ (ขั้นตอนเดิม) แต่ข้อมูลเป็นของส่วนนี้ คุณต้องไปทำใน folder นี้นะ (คนละ folder กัน)”
“ต้องแบบนี้ครับถึงจะเป็นระบบ”
“แย่แน่” ผมบอกกับตัวเอง
การเปลี่ยนแปลงขั้นตอนการทำงานให้เป็นระบบ เป็นสิ่งที่ถูกต้อง แต่ ระบบที่มาสร้างเงื่อนไขในการทำงาน สร้างความยุ่งยาก (ทั้งๆที่มีทางเลือกอื่นที่ดีกว่า เห็นอยู่ทนโท่) คือ หายนะ ครับ
สำหรับผม นี่คือการมองระบบที่ปราศจากสิ่งมีชีวิต
ความผิดพลาดเกิดขึ้นแน่นอนครับ เพราะคนหลงลืมได้ เข้าใจผิดได้ และ หมดแรงได้
ผลก็คือ ระบบที่ล้มเหลว ไม่ถูกใช้งาน และละเลยหลงลืมไปในที่สุด
แล้วความผิดของใครล่ะ คน หรือ ระบบ
ระบบที่สร้างความยุ่งยาก ไม่สามารถปฏิบัติได้ คือระบบที่ล้มเหลว
แก้ไขที่ระบบครับ
(พูดเรื่อง web มาเรื่องนี้ได้ไงเนี่ย)
7.Marketing Position ที่ชัดเจน
หลายๆครั้งที่ ทั้ง web designer และเจ้าของลืมมอง brand และ Marketing Position ของตนเอง
สำหรับผม web designer จำเป็นจะต้องมี sense ของ marketing ด้วยครับ
web designer ก็เหมือน agency โฆษณา คุณกำลังแนะนำ website ออกสู่สายตาสาธารณะชน ถ้าคุณแนะนำมันอย่างผิดๆ brand image ที่ผิดๆนั้นมีแนวโน้มจะติดตัวสินค้า(website) ไปตลอด
แล้วสิ่งเหล่านี้คืออะไร
เจ้าของพึงระลึกอยู่เสมอว่า สินค้า หรือว่า website ของคุณคืออะไร
- ขายสินค้า(หรือบริการ) จุดสำคัญคือ เข้าถึงของมูลได้ง่าย รวดเร็ว มีข้อมูลของสินค้าที่ครบถ้วน ค้นหาได้ง่าย เรียบร้อยสะอาดสะอ้าน อ่านง่าย มีลักษณะภูมิฐาน น่าเชื่อถือ
- web ท่า(portal site) คนที่เข้ามาคือฆ่าเวลา สังสรรค์ ติดตามข่าวสารทั่วไป ถ้ามีสินค้า ก็ควรเป็นสินค้าฝากขาย เพราะกลุ่มผู้ใช้ต้องการความหลากหลาย หรือไม่ก็มีลักษณะเฉพาะตัว เช่นกลุ่มพวกชอบดูหนัง เป็นต้น รายได้หลักมาจาก banner โฆษณา หรือขายรายชื่อ e-mail เป็นกลุ่มคนต้องการบรรยากาศ สบายๆ ง่ายๆ เป็นกันเอง
- แนะนำตัว เป็น brand image เพียวๆ เลยครับ เน้นภาพลักษณ์ ขององค์กร เป็น soft-sale มากๆ ตัวสินค้า(บริการ) ไม่ใช่ปัจจัยหลัก
ลักษณะของ site เหล่านี้ จะมีความแตกต่างกันออกไป และเมื่อคุณกำหนดกลุ่มเป้าหมาย ที่จะเข้ามาใน site ของคุณแล้ว ก็จะแยกย่อยแตกรายละเอียดออกไปอีก ยกตัวอย่างเช่น
site ขายสินค้า
website ที่ขาย นาฬิการาคาแพง ย่อมไม่เหมือน website ที่ขายกล้อง digital
website ขายคอนโดราคา 10ล้าน ย่อมไม่เหมือน website ให้จองโรงแรม หรือแม้แต่ website ให้จองโรงแรมในระดับราคาที่ต่างกัน ก็ควรจะมีลักษณะที่ต่างกันด้วย นอกเสียจากว่าคุณเป็น hotel agent อันนี้คุณต้อง treat โรงแรมทุกที่เท่ากันหมด
8.ระบบ Navigation ที่คงที่
คุณเคยรู้สึกหลงทางบ้างไหม แล้วเป็นอย่างไร ผมเชื่อว่าไม่มีใครชอบความรู้สึกนั้น (การค้นหาสถานที่ใหม่ๆ ไม่ใช่การหลงทางนะครับ)
ความรู้สึกนี้จะเกิด ถ้าคุณย้าย naviagation หรือที่เรารู้จักกันในนาม menu หรือ link บ่อยๆ
เช่นเดียวกับการใช้โปรแกรมใหม่ แล้วหาปุ่ม save หรือปุ่ม copy ไม่เจอ
คราวนี้ลองนึกดูว่า ในโปรแกรมเดียวกัน ปุ่ม copy ย้ายที่ทุกๆ 5 นาที คุณจะเป็นอย่างไร(คงสนุกพิลึก)
ขอเถิดครับ ประเภท website เดียวกัน หน้าแรก menu อยู่ทางซ้าย ไปหน้าสอง menu อยู่ทางขวา ฯลฯ
ผมเข้าใจว่าคนออกแบบคงเบื่อ แต่คนใช้ ทรมาน ครับ
9.Standard Standard Standard
นี่อาจจะเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด แต่มีคนเข้าใจ หรือสนใจมันน้อยที่สุด
ภาษาที่นำมาแสดงอยู่บน browser(เช่น Internet Explorer (IE) ที่เราใช้กันอยู่นี้) โดยแท้จริงแล้วคือ ภาษา HTML (ไม่ว่าคุณจะสร้างมันด้วย perl, asp, asp.net, php, jsp ก็ตาม) ซึ่งมีกลุ่มคนกำลังทำงานด้าน standard ของมันอยู่ คือ W3C
เอาล่ะ คุณอาจจะไม่ต้องเข้าใจมันหรอกว่า W3C คืออะไร แล้วมันทำอะไรอยู่ คุณไม่ต้องรู้จัก html หรือภาษาโปรแกรมวุ่นว่ยทั้งหลายหรอก
แล้ว standrad มาเกี่ยวอะไรกับคุณ
ไม่ว่าคุณจะเป็น website owner, website designer หรือ website programmer ก็ตาม standard เกี่ยวกับคุณแน่นอน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคุณเป็น website owner
คุณทราบหรือไม่ว่า มี web browser (ยกตัวอย่างเช่น IE) อยู่กี่ราย นอกจาก IE แล้วยังมี Opera, Firefox, Safari, ฯลฯ อีกมากครับ ถึงแม้สัดส่วนในตลาดจะไม่เท่า IE (ปัจจุบัน IE ในไทยมีผู้ใช้ประมาณ 90% ของผู้ใช้ทั้งหมด ณ พฤศจิกายน 49) สัดส่วนของ web browser ทางเลือกเหล่านี้ น้อยนิดมากใช่ไหมครับ
แต่ทุกคนต้องเข้าสู่ standard
Firefox มีอัตราการเติบโตที่สูงขึ้น เนื่องจาก bug ที่น้อยกว่า, security ที่ดีกว่า และ standard มากกว่า
ถ้า website คุณไม่แสดงผลใน web browser เหล่านี้ นั่นหมายความว่าคุณสูญเสียกลุ่มลูกค้าไปประมาณ 10% แล้วจะเสียไปทำไม ในเมื่อต้นทุนในการทำ website ไม่ได้เปลี่ยนแปลงเลย
ให้ระวัง script ที่คุณใช้งานอยู่บน IE6 อาจใช้งานไม่ได้ใน IE7 (หรือรุ่นต่อๆไป) หรือแม้แต่การแสดงผลที่เปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากความไม่ standard (ซึ่งสุดท้าย แม้กระทั่ง IE ก็กำลังเดินทางไปที่จุดนั้น)
ทำให้มัน stanndard เถิดครับ ไม่ได้สูญเสียค่าใช้จ่ายใดๆเพิ่มขึ้นเลยแม้แต่น้อย