have errror with jquery on wordpress 3.5
i change to jQuery 1.9.1 and problem solved
<script src=”http://code.jquery.com/jquery-1.9.1.min.js”></script>
<script src=”http://code.jquery.com/jquery-migrate-1.1.1.min.js”></script>
talking about how to use the web and it’s devices
have errror with jquery on wordpress 3.5
i change to jQuery 1.9.1 and problem solved
<script src=”http://code.jquery.com/jquery-1.9.1.min.js”></script>
<script src=”http://code.jquery.com/jquery-migrate-1.1.1.min.js”></script>
website จะเป็นศูนย์กลางของแทบทุกอย่าง
โดยเราจะต้องมีชื่อ domain name ก่อน
เราไปจดทะเบียนเองได้ที่ผู้ให้บริการ domain registrar ทั่วไป (แนะนำ joker.com) และควรใช้อีเมลที่เราใช้ประจำในการจดทะเบียน เพราะ registrar จะเมลแจ้งเราเมื่อใกล้ถึงกำหนดต่ออายุ ถ้ารู้ตัวช้าไป และไปต่อหลังจากหมดอายุไปแล้ว จะโดนบวกราคาแพงขึ้นมาก หรือ domain เราอาจมีคนอื่นซื้อไป แล้วต้องตามไปซื้อกลับมา ในราคาแพง
พอดีได้มีโอกาส ไปเก็บความรู้มาจาก งาน e-commerce forum 2008
ได้ความรู้มาแบ่งปันกันครับ
ในช่องของ search ของ google
site: [ชื่อwebsite]
จะได้ link ของ web site นั้นๆ ที่ google เห็น ว่าจะไปเจอหน้าอะไรบ้าง จาก site นั้น
ยิ่งมีมาก โอกาสที่จะ search จาก google มาเจอก็จะยิ่งสูงขึ้น
แนะนำว่า ต้องมี content มากพอสมควร และ title ของแต่ละหน้าควรจะแตกต่างจากกัน
link: [ชื่อwebsite]
จะได้ link ที่เข้ามาสู่ web site นั้น ซึ่งยิ่งมาก google rank ก็จะยิ่งสูง
www.websiteoutlook.com/
จะเป็น website ที่จะประเมินราคาของ web site อื่นๆโดยดูจากจำนวน page view
keyword tools
ในกรณีที่จะทำ google adword
ก็คงต้องมาประเมินว่า keyword ตัวไหนมีราคาเท่าไร และ เหมาะสมกับ+คุ้มค่ากับการทำ ad หรือไม่
https://adwords.google.com/select/KeywordToolExternal
คือเครื่องมือที่จะช่วยบอก ว่า adword ตัวไหน ราคาเท่าไร และมีการเรียกใช้ในการค้นหา มากน้อยเพียงไร
ขอให้สนุกกับการทำ SEO(search engine optimization) ครับ
4 P’s (McCarthy) | 4 C’s (Robert Lauterborn) |
Product | Customer Solution |
Price | Customer Cost |
Place | Convenience |
Promotion | Communication |
ธุรกิจ ไม่ใช่ สักแต่ว่า ทำๆออกมา อย่างไรก็ขายได้อีกต่อไป
การแข่งขันอันดุเดือดรุนแรง ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไร้ซึ่งทีท่าที่บรรเทาเบาบางลง
แน่นอน มันไม่มีวันจะเกิดขึ้นได้
ความสามารถในการรับรู้ความต้องการของลูกค้า เพื่อนำเสนอสินค้า(บริการ) ยอมเป็นข้อได้เปรียบทางการค้าที่แทบจะประเมินค่ามิได้
ด้วยการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่ง่ายกว่า
การเก็บข้อมูลเหล่านี้สามารถทำด้วยต้นทุนที่ถูกกว่า และสามารถนำข้ามูลมาวิเคราะห์ได้ง่ายกว่า
นอกจากข้อมูลที่ได้แล้ว คุณยังสามารถตอบสนองต่อข้อมูลนั้นได้อย่างทันที
ไม่ต้องรอส่งพิมพ์ ไม่ต้องรอการแจกจ่ายเอกสาร ไม่ต้องรอการเดินทาง
คุณสามารถตอบสนองบนหน้า website ของคุณได้ทันที และลูกค้าของคุณทุกคนสามารถเห็นการตอบสนองนั้น
ถ้าคุณต้องการตอบสนองเป็นรายคน website ที่เชื่อมต่อฐานข้อมูล ก็สามารถตอบสนองต่อลูกค้าแต่ละคนได้ ซึ่งอาจจะเป็นเรื่องยุ่งยากในการทำงานปกติ
ยกตัวอย่างเช่น ลูกค้าแต่ละคน อาจจะมี sale ดูแลแตกต่างกันไป
ความซับซ้อนของลูกค้าแต่ละคน จะถือเป็นข้อมูลของ sale คนนั้น(ส่วนลดพิเศษ, การบริการบางอย่างเป็นการเฉพาะ)
แต่อย่างที่บอกนะครับ ต้องมีการจัดระบบลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพนะครับ
หากข้อมูลไม่มีความเคลื่อนไหว ผลที่ตามมาคือ การขาดความน่าสนใจ ต่อ site
ฉะนั้น พึงมีความเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องบน web site ไม่ว่าจะจัด promotion ลด, แลก, แจก, แถม หรือ การนำเสนอสินค้า(บริการ)ใหม่ๆอย่างต่อเนื่อง การนำเสนอบทความ, ความรู้เชิงวิชาการ, ข้อมูลข่าวสารที่น่าสนใจ เพื่อสร้างความสนใจต่อเนื่องต่อ website รวมถึงเป็นการส่งเสริมภาพลักษณ์ขององค์กร ไปพร้อมๆกัน
จาก พฤติกรรมของคนทั่วไป หากเขาเข้ามาใน website แล้วไม่เห็นการเปลี่ยนแปลง เขาจะลดความถี่ลง เป็นประมาณ อาทิตย์ละครั้ง หากเข้ามา 2-3 อาทิตย์ แล้วไม่เห็นความเปลี่ยนแปลง(เชิงข้อมูล) โอกาสที่จะกลับเข้ามาดูอีกครั้งแทบจะเป็น 0 (ยกเว้นว่าเป็นสินค้าที่เขาต้องการซื้อจริงๆ)
ประเด็นที่น่าสนใจ คือ
หากเป็น website ที่เป็นฐานข้อมูล และมีระบบ back office รองรับ การแก้ไขข้อมูลเหล่านี้ ถือเป็นต้นทุนที่ต่ำมาก คือ เวลาทำงานประมาณไม่กี่นาที (พิมพ์ช้าหน่อยให้เป็น ชั่วโมง) แต่เทียบกับต้นทุนกระดาษ และต้นทุนการพิมพ์ ที่ลดลง ต้นทุนค่าขนส่งเพื่อเข้าถึงลูกค้าในปริมาณที่เท่ากัน
อันนี้ผมว่า คุ้มยิ่งกว่าคุ้ม
แต่ก็ไม่ควรจะลืมว่า การสร้างความ “เป็นที่รู้จัก” ให้แก่ website ของตนถือเป็น ภาระที่สำคัญที่สุด
มิเช่นนั้น ข้อได้เปรียบ หรือ จุดแข็ง ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์เหล่านี้ ก็ไม่มีความหมาย ไม่สามารถใช้ได้
เช่นเดียวกับร้านค้างดงาม สินค้าหลากหลาย ครบถ้วน ราคาถูก แต่ประตูร้านถูกปิดตายไว้
สูญเปล่าครับ
4 P’s (McCarthy) | 4 C’s (Robert Lauterborn) |
Product | Customer Solution |
Price | Customer Cost |
Place | Convenience |
Promotion | Communication |
นี่น่าจะเป็น 1 ใน 2 ส่วนที่ CyberSpace ตอบสนองได้อย่างแข็งแกร่งที่สุด
ทำไมหรือ
หาก Place หมายถึงสถานที่ที่ใช้ในการจัดวางสินค้า สิ่งที่ Place ต้องคำนึงถึงมากที่สุดคือ ความสะดวกสะบาย ในการเข้าถึงสถานที่นั้นโดยกลุ่มลูกค้าเป้ามาย
การเข้าถึง CyberSpace คือ computer คือ internet
ขอเพียงมี computer ของเพียงมี internet ไม่ว่าคุณจะอยู่มุมไหนของเมือง ซอกหลืบไหนของโลก
ลูกค้าของคุณสามารถเข้าถึง website(place) ของคุณได้เสมอ 24 ชั่วโมงต่อวัน 7 วันต่อสัปดาห์
และอัตราการเพิ่มขึ้นของผู้ใช้ internet ยังคงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
แต่ใช่ว่าจะไม่มีข้อเสีย
website มากมายหลายล้านแห่งเกิดขึ้นใหม่ทุกวินาที
สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการทำให้ website ของคุณเป็นที่รู้จัก
เมื่อ website คุณเป็นที่รู้จัก สินค้าเป็นที่สนใจในตลาด(อันนี้สำคัญที่สุด) มีความเคลื่อนไหวของข้อมูลอย่างต่อเนื่อง
เมื่อนั้น place ของคุณก็จะถูกพบเห็นได้โดยง่าย
ผมไม่ค่อยเห็นด้วยกับการทำการโปรโมท website ผ่านทางสื่อพื้นฐานทั่วๆไป
เนื่องจาก CyberSpace มีลักษณะเฉพาะตัวสูง
การซื้อโฆษณาในหนังสือพิมพ์ หรือ โทรทัศน์ เพื่อ โปรโมท website นั้นลืมไปได้เลย
ส่วนที่ต้องเน้นมากๆคือการเพิ่ม ranking ของ website คุณใน search engine ต่างๆต่างหาก
นี่เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง คุณคงไม่อยากให้ลูกค้า สะกดชื่อ site คุณผิดแล้วหลงเข้าไปที่ร้านค้าคู่แข่ง(โอ้พระเจ้า)
การที่ place ของคุณเปิดรับลูกค้าอยู่ตลอดเวลา ซ้ำ internet ยังบ่มเพาะนิสัยการขาดความอดทนอย่างหนักหน่วง
ผลคือการตอบสนองที่ล่าช้า ย่อมสร้างความรู้สึกที่ไม่ค่อยดีต่อธุรกิจ
4 P’s (McCarthy) | 4 C’s (Robert Lauterborn) |
Product | Customer Solution |
Price | Customer Cost |
Place | Convenience |
Promotion | Communication |
ผมอยากให้มองว่า เป้าหมายที่แท้จริงของการใช้ internet คือการเพิ่มประสิทธิภาพในองค์กร
อย่างไรหรือครับ
ผลที่ตามมาของการเพิ่มประสิทธิภาพ คือ การลดต้นทุนครับ ใช้เวลาในค้นหาข้อมูลลดลงก็มีเวลาไป ขายของ, ต่อรอง, วางแผนงานมากขึ้น … วางแผนละเอียดขึ้น ความผิดพลาดลดลง ต้นทุนก็ต่ำลง
นี่คือแนวคิดนะครับ อย่าไปยึดถือจริงจังมากเกินไป ระดับปฏิบัติงานจะเครียด นะครับ
แต่โดย concept คือการปรับปรุง แก้ไข พัฒนา อย่างต่อเนื่อง แล้วคุณจะพบว่า ต้นทุนมันต่ำลงจริงๆ
ขึ้นอยู่กับคุณแล้ว
4 P’s (McCarthy) | 4 C’s (Robert Lauterborn) |
Product | Customer Solution |
Price | Customer Cost |
Place | Convenience |
Promotion | Communication |
คุณรู้จัก 4 P’s(และ 4 C’s) และโลกนี้มี CyberSpace(internet) แล้วคุณจะทำอะไรกับมันได้บ้าง
สมมุติว่า
ในอนาคตอาจจะมีบริการรับแก้ปัญหาทาง website
ลูกค้าเข้ามา พิมพ์ปัญหาทั้งหลายทั้งปวงลงไป
website เอาไปคำนวณและประมวลผล จากนั้นก็ให้คำตอบออกมา
ว่าคุณต้องทำอะไร เก็บเงินเท่าไหร่ ไปซื้อของอะไรบ้าง แล้วใช้ของนั้นๆ อย่างไร(บอกแล้วว่าสมมุติ)
ครับ focus ไปที่ Customer Solution เลย
ซึ่งเป็นไปได้นะครับ ถ้ามี ฐานข้อมูลมากพอ และ technology ที่ฉลาดเพียงพอ
… แต่เดี๋ยวก่อน ถ้าคุณมีสินค้า หรือ บริการอยู่แล้วล่ะ คุณจะใช้ CyberSpace นี้ทำอะไรได้บ้าง
นั่นหมายความว่าคุณกำลังจะใช้มันในสถานะอื่นที่ไม่ใช่ Product เพราะฉะนั้น ผมจะชี้แจงในโอกาสต่อไปครับ
มีคนบอกผมว่าการใช้ internet ทำให้นิสัยคนเราเปลี่ยนไปคืออดทนน้อยลง เป็นเพราะ internet จริงหรือเปล่าผมไม่รู้ แต่ website ไหนที่ load นานๆ ผมไม่เคยได้เห็นเสียที เพราะผมจะ cancel แล้วไป site อื่น
ระยะเวลาในการแสดงผลไม่ควรเกิน 5วินาที เว็บควรจะแสดงรายละเอียดออกมา พอที่ผู้ชมจะตัดสินใจได้ว่า จะไปที่ไหนต่อครับ
ข่าวดี technology มีแนวโน้มที่จะรองรับข้อมูลปริมาณมากๆ ได้ดีขึ้น เร็วขึ้น และราคาถูกลง คาดว่าเราจะได้เห็นการถ่ายทอดสดผ่านทาง internet ที่มีคุณภาพระดับ HDTV ในช่วงอายุของเรา
การตัดสินใจสั่งซื้อของสักชิ้นบน internet เป็นเรื่องที่ยาก (นอกจากสินค้าที่เป็นที่รู้จักอยู่แล้ว และมีความคงตัวสูง เช่น หนังสือ หรือ นาฬิกาแบรนด์แนม) เช่นสินค้าอย่าง เสื้อผ้า เฟอร์นิเจอร์ ที่พักอาศัย หรือสินค้าผลิตเองที่ยังไม่มีชื่อเสียง เป็นต้น ดังนั้นรูปภาพและข้อมูล ถ้ามันจะทำให้ผู้ชม สามารถมั่นใจสินค้าของคุณได้ ใส่เข้าไปเถิดครับ
ผมมีความเห็นว่า website ที่สามารถใส่รูปสินค้าได้เพียงรูปเดียว จึงไม่เหมาะสมด้วยประการฉะนี้
website สามารถปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าได้ ตลอด 24 ชั่วโมงต่อวัน 7 วันต่อสัปดาห์ นั่นคือข้อได้เปรียบที่หลายคนมองข้ามไป
แต่นั่นหมายความว่า คุณต้องมีระบบการจัดการข้อมูลของคุณที่ดีพอ ไม่ต้องไปรอ webmaster เข้ามาแก้ไขข้อมูลให้ในอีก 1 สัปดาห์ข้างหน้า
อย่างที่บอกว่า website ต้องการระยะเวลาเติบโต และการเป็นที่รู้จัก
การเริ่มต้นด้วยความสมบูรณ์แบบ ซึ่งมีผลทำให้ ต้นทุนการดำเนินการสูง จึงเป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง
ซ้ำ ประสบการณ์ ในการทำงานโปรแกรมเมอร์ บอกผมว่า ไม่ว่าคุณจะออกแบบระบบ และวิธีการทำงานดี เพียงใดก็ตาม การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นได้เสมอ
อันนี้ผมฝากถึงโปรแกรมเมอร์ทุกคนครับ มองการแก้ใขไว้เสีย ตั้งแต่ขั้นตอนการเริ่มออกแบบเลยครับ
และมองส่วนเชื่อมต่อระบบทั้งหมดไว้ด้วย อาจจะไม่ได้ 100% แต่ผมเชื่อว่า จะช่วยลดปัญหาเวลาขยายระบบ หรือเชื่อมต่อระบบ ไปได้บ้างไม่มากก็น้อย
พูดง่ายๆคือ เตรียมทางหนีทีไล่ไว้ด้วยครับ (ผมไม่ได้หมายถึงหนีงานนะ ย้ำว่าห้ามเด็ดขาด)
ภาพรวมทั้งหมด (ระบบสุดท้ายที่จะเป็น) ทั้งเจ้าของ โปรแกรมเมอร์ system analyst (ถ้ามี) รวมถึงผู้ปฏิบัติการณ์ ต้องช่วยกันครับ
แต่ต้องเข้าใจตรงกันว่า ระดับการยอมรับงานใน contract นั้นๆ กับเป้าหมายใหญ่ทั้งหมดนั้น คนละเรื่องกันนะครับ
ย้ำครับ เริ่มต้นเล็กๆ และยืดหยุ่น ก่อนครับ
การเปลี่ยนแปลงเป็นอนิจังครับ
ในเรื่องขั้นตอนการทำงาน อาจจะมีการปรับเปลี่ยนในช่วงต้น แต่เมื่อลงตัวแล้วไม่ควรเปลี่ยน เพราะจะทำให้ผู้ใช้สับสน
แต่รูปลักษณ์และหน้าตาของ website โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ต่อลูกค้า ควรจะมีการเปลี่ยนแปลงครับ
ในเบื้องต้นคือ ในระดับข้อมูล ควรมีการเปลี่ยนแปลงประมาณสัปดาห์ละครั้ง มีลดแลกจากแถม มีสินค้าใหม่ มีบทความใหม่
ในระดับถัดไปคือ รูปลักษณ์ ของทั้งsite ควรจะเปลี่ยน 1-2 ปีต่อครั้ง
อันนี้ไม่ใช่กฏตายตัว แต่ผู้ออกแบบระบบ ควรจะมองเผื่อส่วนนี้ไว้ด้วย ไม่ใชว่า่ 1-2 ปีต่อมาี ต้องมา re-code กันใหม่ทั้งหมด เจ้าของ site ก็ต้องมาจ่ายใหม่ทั้งหมด อันนี้ก็ไม่ไหวครับ
มีการประชุมกับ programmer ครั้งหนึ่งที่ผมมีโอกาศเข้าร่วม programmer พยายามชี้แจงให้เห็นถึงการทำงานอย่างเป็นระบบ โดยการสร้างเงื่อนไขในการทำงาน
“ถ้าคุณทำตรงนี้ แต่ข้อมูลเป็นของอีกส่วนหนึ่ง ให้คุณไปทำในอีก folder หนึ่ง”
“ถ้าคุณทำตรงนี้ (ขั้นตอนเดิม) แต่ข้อมูลเป็นของส่วนนี้ คุณต้องไปทำใน folder นี้นะ (คนละ folder กัน)”
“ต้องแบบนี้ครับถึงจะเป็นระบบ”
“แย่แน่” ผมบอกกับตัวเอง
การเปลี่ยนแปลงขั้นตอนการทำงานให้เป็นระบบ เป็นสิ่งที่ถูกต้อง แต่ ระบบที่มาสร้างเงื่อนไขในการทำงาน สร้างความยุ่งยาก (ทั้งๆที่มีทางเลือกอื่นที่ดีกว่า เห็นอยู่ทนโท่) คือ หายนะ ครับ
สำหรับผม นี่คือการมองระบบที่ปราศจากสิ่งมีชีวิต
ความผิดพลาดเกิดขึ้นแน่นอนครับ เพราะคนหลงลืมได้ เข้าใจผิดได้ และ หมดแรงได้
ผลก็คือ ระบบที่ล้มเหลว ไม่ถูกใช้งาน และละเลยหลงลืมไปในที่สุด
แล้วความผิดของใครล่ะ คน หรือ ระบบ
ระบบที่สร้างความยุ่งยาก ไม่สามารถปฏิบัติได้ คือระบบที่ล้มเหลว
แก้ไขที่ระบบครับ
(พูดเรื่อง web มาเรื่องนี้ได้ไงเนี่ย)
หลายๆครั้งที่ ทั้ง web designer และเจ้าของลืมมอง brand และ Marketing Position ของตนเอง
สำหรับผม web designer จำเป็นจะต้องมี sense ของ marketing ด้วยครับ
web designer ก็เหมือน agency โฆษณา คุณกำลังแนะนำ website ออกสู่สายตาสาธารณะชน ถ้าคุณแนะนำมันอย่างผิดๆ brand image ที่ผิดๆนั้นมีแนวโน้มจะติดตัวสินค้า(website) ไปตลอด
แล้วสิ่งเหล่านี้คืออะไร
เจ้าของพึงระลึกอยู่เสมอว่า สินค้า หรือว่า website ของคุณคืออะไร
ลักษณะของ site เหล่านี้ จะมีความแตกต่างกันออกไป และเมื่อคุณกำหนดกลุ่มเป้าหมาย ที่จะเข้ามาใน site ของคุณแล้ว ก็จะแยกย่อยแตกรายละเอียดออกไปอีก ยกตัวอย่างเช่น
site ขายสินค้า
website ที่ขาย นาฬิการาคาแพง ย่อมไม่เหมือน website ที่ขายกล้อง digital
website ขายคอนโดราคา 10ล้าน ย่อมไม่เหมือน website ให้จองโรงแรม หรือแม้แต่ website ให้จองโรงแรมในระดับราคาที่ต่างกัน ก็ควรจะมีลักษณะที่ต่างกันด้วย นอกเสียจากว่าคุณเป็น hotel agent อันนี้คุณต้อง treat โรงแรมทุกที่เท่ากันหมด
คุณเคยรู้สึกหลงทางบ้างไหม แล้วเป็นอย่างไร ผมเชื่อว่าไม่มีใครชอบความรู้สึกนั้น (การค้นหาสถานที่ใหม่ๆ ไม่ใช่การหลงทางนะครับ)
ความรู้สึกนี้จะเกิด ถ้าคุณย้าย naviagation หรือที่เรารู้จักกันในนาม menu หรือ link บ่อยๆ
เช่นเดียวกับการใช้โปรแกรมใหม่ แล้วหาปุ่ม save หรือปุ่ม copy ไม่เจอ
คราวนี้ลองนึกดูว่า ในโปรแกรมเดียวกัน ปุ่ม copy ย้ายที่ทุกๆ 5 นาที คุณจะเป็นอย่างไร(คงสนุกพิลึก)
ขอเถิดครับ ประเภท website เดียวกัน หน้าแรก menu อยู่ทางซ้าย ไปหน้าสอง menu อยู่ทางขวา ฯลฯ
ผมเข้าใจว่าคนออกแบบคงเบื่อ แต่คนใช้ ทรมาน ครับ
นี่อาจจะเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด แต่มีคนเข้าใจ หรือสนใจมันน้อยที่สุด
ภาษาที่นำมาแสดงอยู่บน browser(เช่น Internet Explorer (IE) ที่เราใช้กันอยู่นี้) โดยแท้จริงแล้วคือ ภาษา HTML (ไม่ว่าคุณจะสร้างมันด้วย perl, asp, asp.net, php, jsp ก็ตาม) ซึ่งมีกลุ่มคนกำลังทำงานด้าน standard ของมันอยู่ คือ W3C
เอาล่ะ คุณอาจจะไม่ต้องเข้าใจมันหรอกว่า W3C คืออะไร แล้วมันทำอะไรอยู่ คุณไม่ต้องรู้จัก html หรือภาษาโปรแกรมวุ่นว่ยทั้งหลายหรอก
แล้ว standrad มาเกี่ยวอะไรกับคุณ
ไม่ว่าคุณจะเป็น website owner, website designer หรือ website programmer ก็ตาม standard เกี่ยวกับคุณแน่นอน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคุณเป็น website owner
คุณทราบหรือไม่ว่า มี web browser (ยกตัวอย่างเช่น IE) อยู่กี่ราย นอกจาก IE แล้วยังมี Opera, Firefox, Safari, ฯลฯ อีกมากครับ ถึงแม้สัดส่วนในตลาดจะไม่เท่า IE (ปัจจุบัน IE ในไทยมีผู้ใช้ประมาณ 90% ของผู้ใช้ทั้งหมด ณ พฤศจิกายน 49) สัดส่วนของ web browser ทางเลือกเหล่านี้ น้อยนิดมากใช่ไหมครับ
แต่ทุกคนต้องเข้าสู่ standard
Firefox มีอัตราการเติบโตที่สูงขึ้น เนื่องจาก bug ที่น้อยกว่า, security ที่ดีกว่า และ standard มากกว่า
ถ้า website คุณไม่แสดงผลใน web browser เหล่านี้ นั่นหมายความว่าคุณสูญเสียกลุ่มลูกค้าไปประมาณ 10% แล้วจะเสียไปทำไม ในเมื่อต้นทุนในการทำ website ไม่ได้เปลี่ยนแปลงเลย
ให้ระวัง script ที่คุณใช้งานอยู่บน IE6 อาจใช้งานไม่ได้ใน IE7 (หรือรุ่นต่อๆไป) หรือแม้แต่การแสดงผลที่เปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากความไม่ standard (ซึ่งสุดท้าย แม้กระทั่ง IE ก็กำลังเดินทางไปที่จุดนั้น)
ทำให้มัน stanndard เถิดครับ ไม่ได้สูญเสียค่าใช้จ่ายใดๆเพิ่มขึ้นเลยแม้แต่น้อย